ซน เฮือง มิน นักเตะ แดน โสมขาว โดยส่วนใหญ่แล้ว ระบบการเกณฑ์ทหารของแต่ละประเทศในโลกนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. ประเทศที่ให้เป็นทหารเฉพาะคนที่สมัครใจ
2. ประเทศที่ทุกคนถูกบังคับต้องเป็นทหาร
ซน เฮือง-มิน คงรู้สึกไม่ชอบใจเท่าไหร่ที่ เกาหลีใต้ ของเขา ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ข้อ 2! นั่นก็คือ “ชายชาตรีที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการเป็นทหารอย่างน้อย 2 ปี และต้องปลดประจำการก่อนอายุ 28
ปัจจุบัน “ตี๋ซง” กำลังจะอายุครบ 26 เขาอยู่ในสถานะที่ผ่อนผันไม่ได้อีกแล้ว อาชีพการค้าแข้งของเขากำลังรุ่งโรจน์ ถึงแม้ว่าทัพ “โสมขาว” จะเพิ่งร่วงตกรอบแบ่งกลุ่ม เวิลด์ คัพ 2018 ไปหมาดๆ แต่นั่นก็ปิดบังความจริงไม่ได้ว่า ซน เฮือง-มิน คือเพชรเม็ดงามของประเทศ และมีโอกาสจะพัฒนาขึ้นไปได้อีกหลายเท่าหลังจากนี้
กฎหมายของ เกาหลี นั้นเข้มงวดเป็นอย่างมาก ซน เฮือง-มิน อาจจะรู้สึกเสียดายที่กำลังจะสูญเสียช่วงเวลา 2 ปี ไปกับการเข้ารับราชการที่บ้านเกิด แทนที่จะได้เอาเวลาไปยกระดับอาชีพที่ตัวเองรัก และแน่นอนว่านั่นรวมถึงโอกาสในการสร้างชื่อเสียงและเงินทอง
อันที่จริงแล้ว เกาหลี ก็มีข้อยกเว้นในการเกณฑ์ทหารเช่นกัน โดยเงื่อนไขสำหรับนักฟุตบอลก็คือ ต้องพาขุนพลแดน “กิมจิ” ทะลุเข้ารอบน็อคเอาท์ศึก เวิลด์ คัพ ให้ได้! ซึ่งตรงจุดนี้ “ซน” นั้นหมดหวังไปแล้วเรียบร้อย เหลือเพียงแค่หนทางเดียวคือการพาทีมคว้าเหรียญทองในการแข่งขัน เอเชี่ยน เกมส์ ครั้งที่จะถึงนี้
นี่เป็นความเสียสละที่เขาหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศของเขาไม่ได้มีระบบการเรียน รด. เหมือนอย่างประเทศไทย และความสัมพันธ์ของ เกาหลีใต้ กับ เกาหลีเหนือ ก็ยังไม่ได้อยู่ในจุดที่น่าอุ่นใจถึงขนาดจะยกเลิกการเกณฑทหารเลยตอนนี้ (ถึงแม้จะดึขึ้นในระยะหลัง) มิเช่นนั้น “ตี๋ซน” ก็อาจตัดสินใจฝึกเป็นกำลังสำรองตั้งแต่ช่วง “วัยเป้ง นักเรียนขาสั้น” ไปแล้ว….ซึ่ง ซน เฮือง-มิน ก็ไม่ใช่นักฟุตบอลชื่อดังคนแรกที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดดังกล่าว
เคยหวิดถูกเรียกเข้าประจำการที่ เบลเกรด ตั้งแต่อายุ 15 เนื่องด้วยสถานการณ์ความไม่สงบของเหตุระเบิดตามที่ต่างๆ ทำให้ วิดิช ถูกพิจารณาว่าควรเข้ามาเป็นทหาร แต่ก็โชคดีที่เขาทำเอกสารยื่นเรื่องเป็นนักฟุตบอลอาชีพได้ทันเวลา
ถูกเรียกเข้าประจำการตั้งแต่อายุ 18 ตามกฎหมายประเทศอิสราเอล ที่บังคับให้ชายทุกคนต้องเป็นทหาร แต่ยังโชคดีที่ เบนายูน แสดงความสามารถในการเล่นฟุตบอลเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการยกเว้น
– พาร์ค ชี ซอง
ตำนานแข้งรุ่นพี่ของ “ตี๋ซง” ได้รับการยกเว้นจากความดีความชอบที่พา เกาหลีใต้ ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ เวิลด์ คัพ 2002
ในวัย 22 เคยเกือบต้องตีตั๋วกลับประเทศอียิปต์ ในช่วงที่ค้าแข้งให้ เชลซี เนื่อง จาก ถูก เรียก ตัว แต่ก็รอด หวุดหวิด ภายหลัง จากที่ รัฐบาลของ อียิปต์ พิจารณาแล้วว่า ซาล่าห์ มีแนวโน้มที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในด้านอื่นๆ ได้
– เตมู เตนิโอ
อดีต แข้ง คนดัง ฟินแลนด์ เคยทด สอบฝีเท้ากับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้อย่าง น่า ประทับ ใจช่วงปี 1997 โดย เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ถึง ขั้น เอ่ย ปากเอง ว่าต้อง การที่ จะเรียกตัวมา เช็คฟอร์ม อีก เป็นครั้งที่ 2 แต่เจ้าตัวก็ต้อง ปฏิเสธ เนื่อง จาก ติด รับใช้ชาติ
เริ่มเซ็น สัญญา อาชีพกับ โอแซร์ ครั้งแรกในปี 1983 แต่เล่น ให้ ทีมไม่ได้ถึงปี 1986 เนื่องจากถูกเรียกเข้ากรมทหาร
ลองนึกภาพเล่นๆ ว่าถ้า นักเตะ อย่าง พาร์ค ชี ซอง หรือ ซาล่าห์ จะอดเล่นฟุตบอลไป 2 ปี ในช่วงวัยที่ สำคัญ ต่อ พัฒนา การทาง ฝีเท้า สุดๆ แบบนี้ มัน จะเกิดอะไรขึ้น ? และ คันโตน่า จะเก่งกว่านี้หรือไม่ ถ้าหากไม่มีช่วงเว้นวรรคไปเข้าค่าย ?
หากจะว่ากันตามตรง ซน เฮือง-มิน ถึงแม้จะยังไม่ได้ สร้าง ความ สำเร็จแ บบจริงๆ จังๆ ให้กับประเทศ แต่รวมๆ แล้ว เขา ก็ได้ส ร้างชื่อ เสียงให้คน ทั้งโลก ได้เห็นไป มากมายเ หลือ เกิน แต่ดูเหมือนมันจะยังไม่ดีพอในสายตาของผู้ใหญ่ใน เกาหลี อยู่ดี
ไม่ว่าลึกๆ แล้ว ซน เฮือง-มิน จะคิดเรื่องนี้ยังไง ? จะมองว่าถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ? ในเมื่ออายุการใช้งานของนักฟุตบอลอาชีพก็มีสั้นๆ แค่คนละ 10 กว่าปีเท่านั้น แต่ในเมื่อปัจจุบันกฎหมายในประเทศเกาหลี ยังคงยึดตามเดิมนี้ ดาวเตะจาก ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์ ก็มีทางออกอยู่ทางเดียว นั่นก็คือการไปเอาเหรียญทอง เอเชี่ยน เกมส์ ที่ จาการ์ต้า มาคล้องคอในช่วงปลายปีนี้ให้ได้
ถ้าพลาดหวัง แต่ “ตี๋ซน” ยินดีรับใช้ชาติอยู่แล้ว มันก็คงไม่เป็นไร
แต่ถ้าพลาดแล้ว….ต้องรับใช้ชาติอย่างไม่เต็มใจล่ะ ?
เมื่อนั้น – การรับราชการทหารของ นัก ฟุตบอล คน ดังที่ชื่อ ซง เฮือง มิน ก็ย่อมจะถูก นักสิทธิ มนุษย ชน ทั้งโลก เปิดปาก วิพากษ์ วิจารณ์ แบบหลีก เลี่ยง ไม่ได้อย่างแน่นอนครับ ซน เฮือง มิน นักเตะ แดน โสมขาว